วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นักพัฒนาซอฟแวร์

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (software developer) คือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์เช่นในการออกแบบ การวางแผนพัฒนา ซึ่งขอบเขตงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรม โดยอาจมีส่วนร่วมในระดับทั้งโครงงาน แทนการดูแลส่วนของชิ้นงาน ซึ่งในกลุ่มนี้อาจรวมถึงโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์

นักพัฒนาซอฟแวร์

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่รู้ซึ้งถึงปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงสาเหตุของความล้มเหลวที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก การกำหนดแผนงานที่ไม่เหมาะสม การประมาณค่าใช้จ่ายที่ผิดพลาด ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและไม่เพียงพอหรือ ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แม้ว่าปัญหาเหล่านี้จะพบเจอกันอยู่เสมอ และไม่ได้ยุ่งยากในการแก้ไข แต่ก็มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม


เป็นที่รู้กันดีว่าระบบคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของเราเพิ่มขึ้น ทำให้เราต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ต่างๆ และยังคงต้องการซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ปลอดภัย และ มีเสถียรภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วหลายๆโปรแกรมอาจยังมีข้อผิดพลาดซุกซ่อนอยู่ การจัดการคุณภาพที่ไม่ดีเป็นสาเหตุของหลายๆปัญหาที่เกิดขึ้นกับซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทดสอบและแก้ปัญหา แม้ว่าจะเป็นโปรแกรมเล็กๆ แต่ก็อาจมีข้อผิดพลาดซ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก และ โดยปรกติแล้ว จำนวนข้อผิดพลาดเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณเมื่อขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น ซึ่งอาจทำให้ต้องใช้เวลาแก้ไขหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน


วิศวกรซอฟต์แวร์จึงต้องเป็นบุคคลซึ่งรู้วิธีการที่จะทำงานให้มีคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ สามารถบริหารจัดการทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างเหมาะสม และ วางแผนการทำงานได้อย่างแม่นยำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรเริ่มต้นจากการรู้ถึงประสิทธิภาพของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แต่ละคน อันส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิต ถ้าแต่ละบุคคลสามารถเขียนแต่ละส่วนของโปรแกรมให้มีคุณภาพที่ดี ก็จะทำให้สามารถผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพออกมาได้


การจะรู้ถึงประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละบุคคลนั้น ทางหนึ่งที่ทำได้คือการจดบันทึกทุกขั้นตอนในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเวลาที่ใช้ หรือข้อผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เพื่อทำให้เป็นระเบียบมากขึ้น สำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยอาจมองว่าเป็นการเพิ่มภาระ และ ทำให้เสียเวลา แต่เมื่อทำอย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นความเคยชินแล้ว ความยุ่งยากเหล่านั้นก็จะไม่เป็นอุปสรรค และจะทำให้เรามีข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ หาหนทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้


การที่เรามีข้อมูล ทำให้เราสามารถป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆที่เคยเกิดขึ้นแล้ว และอาจจะเกิดขึ้นอีก ซึ่งดีกว่าการตามไปแก้ไขในภายหลัง อีกทั้งยังมีข้อมูลเพื่อนำมาใช้ช่วยวางแผนการทำงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำของแผน และ สามารถติดตามแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เงื่อนไขที่สำคัญอันหนึ่ง คือ ข้อมูลที่ทำการจดบันทึกนั้น ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะถูกนำมาใช้ในการประเมินแต่ละบุคคล เนื่องจากงานแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน และเมื่อใดที่คุณคิดจะเอาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประเมินแต่ละบุคคล เมื่อนั้นคุณอาจได้เห็นแต่ข้อมูลที่ดูสวยงาม และ คงไม่มีประโยชน์ที่จะนำมาใช้วิเคราะห์อะไรอีกต่อไป...


หน้าที่


1.นักวิศวกรรมข้อกำหนด (requirement engineer) มีหน้าที่วิเคราะห์ ชี้แจงโจทย์ปัญหาที่ซอฟต์แวร์จะต้องการ โดยสรุปให้เห็นคุณลักษณะซอฟต์แวร์ที่ต้องการ ขอบเขตหน้าที่ที่ซอฟต์แวร์ควรทำ ทบทวนความครบถ้วนของข้อกำหนดและความถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ฯลฯ ในกรณีที่เป็นข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ประเภทที่เสริมระบบงานธุรกิจ ผู้ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) โดยมีหน้าที่ศึกษาระบบงาน ขั้นตอนในการทำงาน ลักษณะข้อมูลที่ส่งต่อในแต่ละขั้นตอน และสอบถามความต้องการของผู้บริหาร หรือผู้ที่จะใช้ระบบ ฯลฯ แต่สำหรับกรณีที่เป็นข้อกำหนดซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เพื่อจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป ผู้ที่ทำหน้าที่นี้จะต้องศึกษาความต้องการของตลาดด้วย
2.นักวิเคราะห์องค์ความรู้ (Knowledge engineer) มีหน้าที่สอบถาม และรวบรวมองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงกฎเกณฑ์ (rule) ต่างๆ และวิธีวินิจฉัยปัญหาในสาขานั้นๆ องค์ความรู้นี้มักจำเป็นต้องมีในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จำลองการทำงานของผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) หรือระบบช่วยตัดสินใจ (Decision support system)
3.นักออกแบบระบบ (designer) มีหน้าที่วางแนวทาง รายละเอียดขั้นตอน และวิธีการทำงานซอฟต์แวร์ เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามข้อกำหนด รวมถึงการออกแบบวิธีประสานงานระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ออกแบบวิธีจัดระเบียบข้อมูลในฐานข้อมูล ออกแบบหน้าจอแนวทางนำเสนอข้อมูลที่เป็นรูป เสียง บทความ ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ
4.นักวิจัย (researcher) ในกรณีที่นำซอฟต์แวร์มาใช้แก้โจทย์ปัญหาที่ปัจจุบันยังไม่ทราบวิธีที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์แก้ให้เรา หรือทำแทนเรา เช่น วิธีที่ทำให้ซอฟต์แวร์อ่านลายมือภาษาไทยออก ผู้ที่ออกแบบระบบได้สำเร็จมักเป็นนักวิจัย (researcher) ที่ต้องคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ไม่ใช่นักออกแบบระบบซอฟต์แวร์ธรรมดา
5.นักเขียนโปรแกรม (Programmer) หรือโปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ หรือชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้
6.นักทดสอบคุณภาพระบบ (tester) มีหน้าที่จัดทำกรณีทดสอบ เพื่อทดสอบและประเมินคุณภาพของโปรแกรม ซึ่งรวมถึงความถูกต้องประสิทธิภาพ ฯลฯ ตามที่ระบุในข้อกำหนดของซอฟต์แวร์
7.ผู้ประเมินคุณภาพการใช้งานของระบบ (usability engineer) ทำหน้าที่ตรวจสอบความสะดวกในการใช้งานของซอฟต์แวร์ ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบซอฟต์แวร์
ความจำเป็นจองบุคลากรแต่ละตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด และความซับซ้อนของซอฟต์แวร์ บางซอฟต์แวร์อาจไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรครบดังที่กล่าวมานี้ บางซอฟต์แวร์อาจต้องการผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์ยังต้องประสานงานกับบุคคลอื่น เช่น ผู้บริหารบริษัทซอฟต์แวร์ ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ผู้บริหารองค์กรที่ว่าจ้างให้พัฒนาซอฟต์แวร์ ฯลฯ



วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

1.ความหมายของจริยธรรม
ความหมายของ จริยธรรมจริยธรรม หมายถึง ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ เป็นธรรมะทางใจที่ควบคุมพฤติกรรม ความประพฤติที่ดีที่ชอบที่ถูกที่ควร เป็นเรื่องของความรู้สึกในการพัฒนาตนเอง ที่มุ่งหมายให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดำรงชีวิตอยู่อย่างบริบูรณ์เปี่ยมไปด้วยความดีทั้งกายวาจาและใจจริยะหรือ จริยา คือ ความประพฤติ การกระทำ เมื่อสมาสกับคำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ จึงเป็นความประพฤติที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม ชอบธรรม เป็นธรรมชาติจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน ควบคู่กับ วินัย อันเป็นข้อห้ามหรือข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติ สำหรับข้าราชการก็ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการดังนั้น จริยธรรม จึงเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่นจริยธรรมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม
• ถึงสูงศักดิ์ อัครฐาน สักปานใด
• ถึงวิไล เลิศฟ้า สง่าศรี
• ถึงฉลาด กาจกล้า ปัญญาดี
• ถ้าไม่มี คุณธรรม ก็ต่ำคน
2.ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ
องค์การธุรกิจใหม่ต้องบริหารงานโดยคำนึงถึงจริยธรรม รับผิดชอบต่อผู้บริโภคด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รับผิดชอบต่อพนักงานด้วยการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม และรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจานั้นยังต้องดำเนินกิจการด้วยความโปร่งใสพร้อมจะให้สาธารณชนตรวจสอบเสมอ จริยธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทุกด้านขององค์การ การทำงานภายใต้ระบบทุนนิยมและกระแสเศรษฐกิจใหม่ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องจริยธรรมจะสร้างผลกระทบในทางลบได้อย่างรุนแรงและกว้างขวางมากกว่ายุคใด ๆ
3.ความหมายของจริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา
จริยธรรมนำชีวิต การใช้จริยธรรมนำชีวิต ต้องเริ่มจากการปริยัติคือศึกษาทฤษฎีให้เข้าใจแล้วจึงนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการเพื่อผลในขั้นสุดท้ายอันเป็นผลที่น่ายินดีที่เรียกว่า เป็นคนมีจริยธรรม หรือปฏิเวธได้ในที่สุด
การปริยัติเพื่อการปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีจริยธรรมควรเริ่มต้นจาก มรรยาทชาวพุทธ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย เพื่อให้ตนมีจริยธรรมทางกาย ต่อไปก็ต้องทำใจให้บริสุทธ์สะอาดเพื่อการมีจริยธรรมทางใจ โดยการปริยัติ สมถะ วิปัสสนา มงคลชีวิต หลักพุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคม
เมื่อรู้ทฤษฎีในการปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางกายและใจแล้วควรได้ทราบว่าจะนำทฤษฎีไปพัฒนาตนอย่างไร โดยศึกษาจากเรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก่อนลงมือปฏิบัติตามอาจเกิดความลังเลสงสัยเกิดขึ้นว่า เมื่อปฏิบัติแล้วจะได้ผลจริงหรือไม่ จึงจำเป็นต้องศึกษาแบบอย่างที่ดี ในเรื่องประวัติและคุณธรรมของพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง
ประวัติและคุณธรรมดังกล่าวมีมาแต่พุทธกาล ความลังเลสงสัยอาจจะยังคงมีอยู่ว่าในปัจจุบันพระดีๆเป็นแบบอย่างได้ ยังมีอยู่จริงหรือ ก็ให้ศึกษาได้จาก บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม

ถ้าได้ศึกษาไปครบทั้ง 8 เรื่องแล้ว ยังลังเลว่าเรื่องเหล่านี้นำมาจากที่ใด ใครเป็นผู้สอน ให้ศึกษาจาก
พระไตรปิฎก ภาษาบาลี คำศัพท์ในพระพุทธศาสนา และพุทธศาสนาสุภาษิต พุทธประวัติและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเมื่อปริยัติครบทั้ง 11 เรื่อง มีความเข้าใจ มีจินตมยปัญญา สามารถนำไปปฏิบัติได้ ท่านจะเป็นผู้หนึ่งที่ถูกเรียกว่าชาวพุทธ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อการคงอยู่ของพระพุทธศาสนา จึงต้องศึกษา หน้าที่ชาวพุทธ ศาสนาพิธีและการปกครองคณะสงฆ์ไทย
หลังจากที่ได้มีการปริยัติ และ ปฏิบัติ มรรยาทชาวพุทธ สมถะ วิปัสสนา มงคลชีวิต หลักพุทธธรรม ฯ หน้าที่ชาวพุทธ จนสุดท้ายศาสนาพิธี จริยธรรมก็จะนำชีวิตไปสู่แสงสว่างแห่งความดี เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม อันเป็นจุดมุ่งหมายของการพัฒนาคนตามที่สังคมต้องการ และจะให้สว่างยิ่งขึ้นก็ควรได้ศึกษา คู่มือมนุษย์ ธรรมะจากหลวงตาบัว ธรรมะจากพระอาจารย์ทูล จารึกไว้ในพระศาสนา รวมทั้งศึกษาหาแบบอย่างดีๆในปัจจุบันได้จาก ข่าวเยาวชน ปิดท้ายด้วยนิทานสนุกๆ เรื่อง มิลินทปัญหา และ ทศชาติชาดก

เว็บไซด์ Moralism จึงเป็นเว็บไซด์ที่จะนำชีวิตไปสู่ความดีงาม ทั้ง กาย วาจา และ ใจ เป็นผู้มีจริยธรรมในที่สุด รวมทั้งเป็นเว็บไซด์ที่สามารถสนองตอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้มีการศึกษาตามอัธยาศัย คือการศึกษาด้วยตนเอง ตามความต้องการ ตามความสนใจ ตลอดเวลา และตลอดชีวิตเว็บไซด์นี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการศึกษาตามอัธยาสัย
คุณธรรม (อังกฤษ: Virtue) เป็น มุมมองแง่หนึ่งของ จริยธรรม ซึ่งคำนึงถึง สิ่งที่ถูกและผิด โดยมีหลักใหญ่สามประการ ได้แก่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในแต่ล่ะบุคคล ระบบยุติธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม และ ธรรมเนียมปฏิบัติ สภาพคุณความดี หรือคุณลักษณะที่แสดงออกของความดี ที่แสดงออกด้วยการปฏิบัติและเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป

4.องค์ประกอบของจริยธรรม
จริยธรรมนั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องกำหนดหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย ซึ่งในสังคมหรือในทุกองค์กรต้องมีข้อปฏิบัติ ปฏิบัติร่วมกันจึงจะสามารถอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะได้มีดังนี้
1. ระเบียบวินัย (Discipline)
เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องมีในองค์กรซึ่งถ้าองค์กรใดขาดกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวินัย ที่จะเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันแล้ว โดยแต่ละคน ต่างคนต่างทำอะไร ได้ตามความต้องการ ไม่มีผู้นำ ไม่มีระเบียบแบบแผนให้ยึดถือ ในแนวเดียวกัน ถ้าหาเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ หน้าที่ เกิดความ เดือดร้อน และความไม่สงบในองค์กรจึงอาจทำให้องค์กรไม่สามารถประสบความ สำเร็จตามเป้าหมายขององค์การได้ ดังนั้นองค์กรทุกองค์กรต้องมีระเบียบวินัย
2. สังคม (Society)
เป็นการรวมกลุ่มกัน ประกอบกิจกรรมอย่างมีระเบียบแบบแผนจะก่อให้เกิด ความเรียบร้อย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามซึ่งการ รวมกลุ่ม กันประกอบกิจกรรมในด้านธุรกิจนั้น หากทุกองค์กร สามารถที่จะ ให้ ความ ร่วมมือ ให้เกิดการพัฒนาสังคมหรือตอบแทนคืนให้สังคมโดยไม่เห็นแก่่ประโยชน์ ส่วนตน จะทำให้สังคมเกิดสิ่งดี ๆ เช่น เกิดเหตุการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิที่ภาคใต้ จะเห็นได้ว่าหน่วยต่าง ๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน หรือแม้กระทั่งคนไทยทั้งประเทศ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ด้วยการบริจาคทั้ง ทุนทรัพย์ และกำลังเท่าที่ สามารถช่วย ได้ในการทำกิจกรรมให้การช่วยเหลือใน รูปแบบต่าง ๆซึ่งจะเห็นได้จากกิจกรรม ทางสังคมนี้ ที่จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สังคมไทย นั้น เป็นสังคมที่เปี่ยมด้วย น้ำใจที่ ี่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง
3. อิสระเสรี (Autonomy)
โดยทั่วไปแล้ว บุคคลผู้สำนึกในมโนธรรมและมีประสบการณ์ชีวิต ย่อมจะเป็นบุคคลที่ความสุข ที่จะอยู่ในระเบียบวินัย สำหรับ คนไทยไทยนั้นค่านิยม ยังหมายรวมถึง อิสระ เสรีภาพ ซึ่งเมื่อได้รับการขัดเกลาแล้ว สามารถปกครองตนเองให้อยู่ในทำนองคลองธรรมได้ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการ โครงการศึกษาจริยธรรม ได้ทำการกำหนดจริยธรรมที่ควรปลูกฝัง
แก่คนไทยไว้ 8 ประการดังนี้

1. การใฝ่สัจจะ คือ การยึดถือความจริง ศรัทธาในสิ่งที่มีหลักฐานข้อมูลรองรับ
ที่สามารถพิสูจน์ ตรวจสอบได้ แสวงหาความรู้ ความจริงได้
2. การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา คือ การใช้กระบวนการค้นหาความรู้
ความจริงเป็นทางออกอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาหรือจัดอุปสรรค์ข้อ ยุ่งยาก ต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่
3. เมตตากรุณา คือ การเสียสละเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น โดยการเสียสละนั้นไม่
ก่อให้เกิดเดือนร้อนต่อตนเอง แต่ช่วยให้ผู้อื่นได้พ้นจากความทุกข์กังวล
4. สติ- สัมปชัญญะ คือ การที่บุคคลนั้นมีความรู้ตนเองอยู่เสมอว่า ตนกำลัง
ทำอะไรอยู่ และสามารถที่จะเตือนตนเองให้สามารถตัดสินใจที่แสดงออกมาทางด้าน การประพฤติ ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องที่ด้วยสติ
5. ไม่ประมาท คือ การที่จะกระทำอะไรก็ตาม จะต้องมีการวางแผน เพื่อเตรียม
เตรียมพร้อม โดยต้องมีการคาดการณ์ เพื่อรับผลที่ตามมาของการกระทำใด ๆ ของตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นนิสัย
6. ซื่อสัตย์สุจริต คือ การมีจิตใจและการปฏิบัติตนที่ตรงต่อความเจริญความ
ถูกต้อง ความดีงาม ตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรงตามระเบียบแบบแผนและ กฎเกณฑ์ต่อคำมั่นสัญญา ซึ่งหากปฏิบัติแบบนี้แล้ว จะก่อให้เกิดการยอมรับในที่อยู่ ร่วมกันในสังคมได้
7. ขยัน – หมั่นเพียร คือ การมีความพอใจต่อหน้าที่การงานของตนที่ได้
รับผิดชอบ จนสิ้นสุดกระบวนการในการทำงาน
8. หิริ – โอตตัปปะ คือ การละอาย และแกรงกลัวต่อการประพฤติชั่ว การผิด
ศีลธรรมต่อมาได้มีการเพิ่มคุณลักษณะจริยธรรมไทย 11 ประการ คือ

1. การมีเหตุผล 2. ความซื่อสัตย์ 3. ความรับผิดชอบ
4. ความเสียสละ 5. ความสามัคคี 6. ความกตัญญูกตเวที
7. การรักษาระเบียบวินัย 8. การประหยัด 9. ความยุติธรรม
10. ความอุตสาหะ 11. ความเมตตากรุณา

5.ประเภทของจริยธรรม
ประเภทของจริยธรรม

จากการศึกษาเราสามารถสรุปประเภทของจริยธรรมได้ 2 ระดับคือ
1. จริยธรรมภายใน เป็นสิ่งที่อยู่ภายในอาจจะไม่แสดงออกซึ่งเป็นจริยธรรม
ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ของบุคคล และสภาวะของจิตใจของแต่ละ บุคคล และบุคคล เช่น ความปราศจากอคติ ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที มีความเมตตากรุณาเป็นต้น
2. จริยธรรมภายนอก คือ พฤติกรรมภายนอกที่บุคคลแสดงออกมาซึ่งสามารถ
สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่ามีความซื่อตรง มีสัจวาจา มีระเบียบวินัย รับผิดชอบ เอาใจใส่ต่อหน้าที่การงาน มีความขยันหมั่นเพียร ความประณีต สุภาพอ่อนน้อม ให้ความช่วยเหลือ เอื้ออาทร เคารพกฎกติกา มีมารยาท เป็นต้น

6.โครงสร้างในด้านคุณลักษณะของจริยธรรม

คุณลักษณะของจริยธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่า “จริยธรรม” นั้น มี
บทบาทต่อบุคคลในลักษณะใดบ้าง และส่งผลต่อบุคคลในการประพฤติปฏิบัติตน ในการ ดำรงชีวิต ทั้งในด้านการทำงานและ ความเป็นอยู่ในแต่ละสังคม คุณลักษณะโดยทั่วไปของจริยธรรม เมื่อพิจารณาแล้วเราสมารถแบ่งได้ดัง
1. ความรับผิดชอบ หมายถึง การบุคคลนั้น สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วย
ความผูกพัน ด้วยความเพียร ละเอียดรอบคอบยอมรับผลของการกระทำ ในการ ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุ ตามมุ่งหมาย มีพยายามปรับปรุงการทำงาน ของตน ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และพร้อมที่จะสร้างสรรค์งานใหม่ อยู่ตลอดเวลา เป็นต้น
2. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนของบุคคลอย่างเหมาะสม
ตรงต่อความเป็นจริง ตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น หาก ทำงานอยู่ในองค์กรต้องมีความซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง ต่อลูกจ้าง ต่อองค์กร ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ เป็นต้น
3. ความมีเหตุผล หมายถึง ความสามารถในการใช้ปัญญา รู้จักไตร่ตรอง
พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลง งมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และ
ความยืดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจจะผิดได้ ไม่เชื่อง่าย หูเบา รู้จักใช้เหตุผล
ในกานพิจารณาเรื่องราวที่รับรู้ เป็นต้น
4. ความกตัญญูกตเวที หมายถึง การที่บุคคลนั้นมีจิตใจและการประพฤติ
ที่รู้สำนึกในอุปการคุณของผู้มีพระคูณแล้วแสดงออกตอบแทนต่อมีพระคุณอย่าง บริสุทธิ์ใจ มิใช่เป็นการกระทำเฉพาะหน้าที่ที่ต้องกระทำ แต่ควรเป็นการกระทำ ที่ แสกงออกมาซึ่งความ เต็มใจอย่างแท้จริง เป็นต้น
5. การรักษาระเบียบวินัย หมายถึง แนวปฏิบัติในการที่จะควบคุมความ
ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสมกับ จรรยาบรรณ ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม ซึ่งในองค์กรทุกองค์กร เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกัน ทั้งต้องเป็น แนวปฏิบัติร่วมกันตลอดจนในสังคมจะต้องมี เพื่อให้เกิดความสันติสุขในสังคม เป็นต้น
6. ความสามัคคี หมายถึง การเตรียมความพร้อมเพรียม เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ร่วมมือกันกระทำกิจกรรม หรือกิจกรรมต่างๆ ให้ได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เห็นแก่ ประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตัว ซึ่งยัง หมายถึงการที่จะต้องรู้ถึงการปรับตนเอง ให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี รับผิดชอบในหน้าที่ ตลอดจนการมีความรักในหมู่คณะ เป็นต้น
7. ความยุติธรรม หมายถึง การมีจิตใจที่ความเที่ยงตรง ซึ่งความเที่ยงตรงนี้
จะต้องสอดคล้องกับความจริง ไม่ลำเอียง หรือมีการปกปิด ซึ่งหากบุคคลมีความ ยุติธรรม ประจำตนแล้วนั้น ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในทางที่ไม่ดี จะเกิดขึ้นน้อยมาก
8. ความเสียสละ หมายถึง การที่บุคคลนั้นละแล้วซึ่งความเห็นแก่ตัว รู้จัก
สลัดอารมณ์ร้ายในตัวเองทิ้ง การมีน้ำใจและแบ่งปันให้กับบุคคลอื่น การให้ความ ช่วยเหลือด้วยกำลังทรัพย์ กำลงกาย กำลังสติปัญญา เป็นต้น
9. การประหยัด หมายถึง การที่บุคคลนั้นไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย รู้จักยับยั้ง
ความต้องการให้อยู่ในขอบเขต มีความพอดี ใช้สิ่งของทั้งหลาย อย่างพอเหมาะ พอควร ใช้ให้ได้ ประโยชน์มากที่สุด รู้จักระมัดระวัง ไม่ให้มีส่วนเกินเหลือทิ้ง เป็นต้น
10. ความเมตตากรุณา หมายถึง การที่บุคลมีความรักใคร่ปอง ดองกัน มี
ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข โดยไม่หวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน ซึ่งมีจุดหมายที่จะ ให้บุคคลดังกล่าวให้พ้นทุกข์ เป็นต้น
11. ความอุตสาหะ หมายถึง การที่บุคคลมีความพยายามอย่างเข็มแข็งในการ
รทที่จะมุ่งมั่นในการทำงานหรือทำกิจกรรม ใด ๆ ให้สำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ในการทำงานและตรงตามเวลาที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นต้น

ผู้จัดทำ
1.นางสาว สุภัทรา สุทธิประภา เลขที่ 25
2.นางสาว ภัสรา ศรีอุดม เลขที่ 16